Call Us:
098-9245815
จันทร์ - เสาร์ : 09.00 น. - 18.00 น.
OUR LOCATION
178/50 ซ.วุฒากาศ 14 แขวงตลาดพลู เขตธนบุรี , กรุงเทพฯ 10600,
SEND US EMAIL
pichaipat@faifahpro.biz
หน้าแรก
เกี่ยวกับเรา
บทความ
สื่อ
กิจกรรม
ติดต่อเรา
หน้าแรก
เกี่ยวกับเรา
บทความ
สื่อ
กิจกรรม
ติดต่อเรา
รู้จักเซอร์กิตเบรกเกอร์ (Circuit Breaker) ในบ้านให้มากขึ้น
หน้าแรก
บทความ
รู้จักเซอร์กิตเบรกเกอร์ (Circuit Breaker) ในบ้านให้มากขึ้น
รู้จักเซอร์กิตเบรกเกอร์ (Circuit Breaker) ในบ้านให้มากขึ้น
เบรกเกอร์
คือ อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ทำหน้าที่ควบคุมและป้องกันอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจาก
ไฟฟ้าลัดวงจร
ช่วยจำกัดความเสียหายที่เกิดขึ้นกับสายไฟ มอเตอร์ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า และอุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ ภายในบ้านหรือสำนักงานเมื่อพบความผิดปกติที่เกิดขึ้นในวงจรหรือระบบไฟฟ้า เบรกเกอร์จะ
ตัดกระแสไฟฟ้า
ทันที เพื่อลดโอกาสที่เครื่องใช้ไฟฟ้าจะได้รับผลกระทบจาก
ไฟฟ้าลัดวงจร
ที่อาจนำไปสู่ความเสียหายและอัคคีภัยได้
ประเภทของเบรกเกอร์
1. เบรกเกอร์ลูกย่อย (Miniature Circuit Breaker: MCB)
มีขนาดเล็ก ใช้ในบ้านพักอาศัยที่มีการแสการใช้ไฟฟ้าไม่เกิน100A ติดตั้งเป็นอุกรณ์ป้องกันร่วมกับตู้โหลดเซ็นเตอร์ หรือตู้คอนซูมเมอร์ยูนิตเป็นเบรกเกอร์ชนิดที่ไม่สามารถปรับตั้งค่ากระแสตัดวงจรได้ และส่วนใหญ่อาศัยกลไกลการปลดวงจรในรูปแบบ thermal และ magnetic
2. เครื่องตัดไฟรั่ว RCD (Residual Current Device)
คืออุปกรณ์เซฟตี้ที่ใช้สำหรับตัด/ป้องกันกันไฟรั่วไฟดูด มี 3 ประเภทตามความต้องการใช้งาน ได้แก่ RCBO (ป้องกันไฟดูดช๊อต) , RCCB (ตัดไฟเมื่อเกิดการรั่วไหลของกระแส) , ELCB (ป้องกันไฟดูด มักใช้ในเครื่องใช้ไฟฟ้า มีปุ่มเทส)
3. โมลเคสเซอร์กิตเบรกเกอร์ (Moulded Case Circuit Breaker: MCCB)
คือเบรกเกอร์ที่ใช้ในการเปิด-ปิดวงจรไฟฟ้ารวมถึงตัดกระแสไฟฟ้าเมื่อมีไฟรั่วหรือลัดวงจร ใช้กับกระแสไฟตั้งแต่ 100-2,300A แรงดันไม่เกิน 1,000 โวลต์ นิยมใช้ในตู้ไฟฟ้า Local panel ในอาคารขนาดใหญ่
4. แอร์เซอร์กิตเบรกเกอร์ (Air Circuit Breaker : ACB)
เป็นเบรกเกอร์ขนาดใหญ่ที่สุดในหมวดLow Voltage ทนกระแสไฟฟ้าได้สูงสุดถึง 6,300A สามารถเพิ่มอุปกรณ์เสริมต่าง ๆ เข้าไปได้ตามความต้องการ นิยมใช้งานเป็นเมนเบรกเกอร์ในโรงงาน
การเลือกซื้อเซอร์กิตเบรกเกอร์
เหตุผลหลักที่คุณจะติดตั้งเซอร์กิตเบรกเกอร์ก็เพื่อป้องกันระบบไฟฟ้าจากกระแสลัดวงจรและกระแสเกิน (Overload) ไม่ว่าจะเป็นการติดตั้งใหม่หรือการเปลี่ยนซ่อมบำรุงก็ต้องเลือกเซอร์กิตเบรกเกอร์ให้ถูกต้องและเหมาะสมกับการใช้งาน ซึ่งจำเป็นต้องคำนึงถึง 2 อย่างดังนื้
1. จำนวน Pole
เป็นตัวที่จะบอกเราว่าเบรกเกอร์ที่ใช้นั้นเป็นชนิดกี่เฟส
- 4 Pole หมายถึง เป็นเซอร์กิตเบรกเกอร์สำหรับระบบ 3 เฟสโดยป้องกันสาย line และสาย neutralเหมาะสำหรับระบบที่ต้องการความปลอดภัยสูง หากระบบไฟฟ้ามีความผิดปกติ เบรกเกอร์สามารถป้องกันได้ทั้ง 4 เส้น
- 3 Pole หมายถึง เป็นเซอร์กิตเบรกเกอร์สำหรับระบบ 3 เฟสโดยป้องกันแค่สาย line อย่างเดียว นิยมใช้กันมากในอาคารพาณิชย์และโรงงานอุตสาหกรรม
- 2 Pole หมายถึง เป็นเซอร์กิตเบรกเกอร์สำหรับระบบ 1 เฟสโดยป้องกันสาย line และสาย neutral มักจะใช้มาเป็นเมนเบรกเกอร์ในตู้คอนซูมเมอร์ มีทั้งที่เป็นเบรกเกอร์แบบ MCB และ MCCB
- 1 Pole หมายถึง เป็นเซอร์กิตเบรกเกอร์สำหรับระบบ 1 เฟส มักใช้ในบ้านที่พักอาศัยโดยป้องกันแค่สาย line อย่างเดียว ส่วนใหญ่จะเป็นเบรกเกอร์ลูกย่อยที่ใช้ร่วมกับตู้คอนซูมเมอร์ยูนิต
2. ค่าพิกัดกระแสลัดวงจร (kA)
เป็นตัวบ่งบอกถึงความสามารถ ขีดจำกัด ที่เบรกเกอร์สามารถทนได้เมื่อมีการทำงานที่ผิดพลาด ซึ่งจะทนได้เพียงเวลาสั้น ๆ เท่านั้น เช่น ค่า 6kA หมายถึงค่ากระแสที่เบรกเกอร์ทนได้คือ 6000 แอมป์ ข้อผิดพลาดที่ตรวจเจอบ่อย ๆ คือการใช้เบรกเกอร์ที่ค่าพิกัดกระแส kA ที่ไม่ได้มาตรฐานการใช้งานจริง เช่น เลือกเบรกเกอร์ขนาด 20kA มาใช้ในระบบไฟฟ้าที่ต้องมีค่าพิกัดกระแสลัดวงจรต่ำสุด 26kA เป็นต้น
โดยทั่วไปหม้อแปลงขนาดใหญ่ที่เป็นแหล่งจ่ายพลังงานจะมีขนาด 100kVA ไม่บ่อยที่จะเห็นหม้อแปลงขนาด 300-500kVA ซึ่งเมื่อเกิดการซ็อตเซอร์กิตที่ขาออกของหม้อแปลงเหล่านี้จะทำให้เกิดกระแสไหลผ่านวงจรจำนวนมากตั้งแต่ 20 kA หรือมากกว่า
สิ่งที่น่ากลัวคือมีผู้ผลิตบางส่วนที่ยอมขายเซอร์กิตเบรกเกอร์ในราคาที่ถูกลงโดยลดค่าพิกัดกระแสลัดวงจรลงดังนั้นช่างเทคนิคหรือผู้ใช้งานที่ไม่เข้าใจส่วนนี้อาจเลือกเบรกเกอร์ผิดขนาดมาใช้ก็เป็นได้ ดังนั้นเรื่องระบบไฟฟ้าในบ้านเราต้องมั่นใจว่าช่างเทคนิคหรือผู้ที่มาช่วยเราติดตั้ง ซ่อมแซม แก้ไข ระบบไฟฟ้านั้นมีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และเชื่อถือได้จริง เพื่อความปลอดภัยของทุกคนในบ้าน
Share this post :
Related Articles
การเลือกซื้อหลอด LED
คนส่วนใหญ่จะดูจากค่าวัตต์ เพราะคิดว่าวัตต์ยิ่งมากจะให้ความสว่างมาก ในความจริงแล้วค่าวัตต์เป็นหน่วยวัดการใช้พลังงานไฟฟ้าของ...
หน้าหนาวไฟฟ้าสถิต
ไม่เพียงแค่อากาศแห้งในช่วงฤดูหนาวที่มีบทบาทสำคัญต่อการเกิดไฟฟ้าสถิต แต่การใช้ชีวิตในแต่ละวันก็มีโอกาสถูกช๊อตเบาๆ ได้จากการ...
5 ที่เคาท์ดาวน์ปีใหม่ วิวสวย บรรยากาศดี ต้อนรับปี 2022
ใกล้สิ้นปีแล้ว ด้วยสถานการณ์โควิด19 ที่ผ่านมาทำให้เราไม่ค่อยได้เที่ยวหรือสัมผัสบรรยากาศเทศกาลต่าง ๆ นัก เชื่อว่าหลายคนคงคิ...
ติดต่อเรา
Read More