Call Us:
098-9245815
จันทร์ - เสาร์ : 09.00 น. - 18.00 น.
OUR LOCATION
178/50 ซ.วุฒากาศ 14 แขวงตลาดพลู เขตธนบุรี , กรุงเทพฯ 10600,
SEND US EMAIL
pichaipat@faifahpro.biz
หน้าแรก
เกี่ยวกับเรา
บทความ
สื่อ
กิจกรรม
ติดต่อเรา
หน้าแรก
เกี่ยวกับเรา
บทความ
สื่อ
กิจกรรม
ติดต่อเรา
เบรกเกอร์ และ เบรกเกอร์กันไฟรั่ว เหมือนกันหรือไม่เหมือนกัน
หน้าแรก
บทความ
เบรกเกอร์ และ เบรกเกอร์กันไฟรั่ว เหมือนกันหรือไม่เหมือนกัน
เบรกเกอร์ และ เบรกเกอร์กันไฟรั่ว เหมือนกันหรือไม่เหมือนกัน
คำว่า “เบรกเกอร์” ที่เป็นคำเรียกสั้นๆของคำว่า “Circuit Breaker” มันคืออุปกรณ์ตัดไฟ เรามักเห็นเบรกเกอร์ได้ตามตู้ไฟ หรือไม่ก็ตามอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีความเสี่ยงเรื่องไฟรั่ว เป็นอุปกรณ์ที่ไว้ป้องกันภัยที่เกิดจากไฟฟ้า และหากเลือกใช้เบรกเกอร์ผิด ชีวิตก็จะตกอยู่ในอันตราย (คือคิดไปเอง ว่าปลอดภัยแล้วทั้งๆ ที่อยู่ในความเสี่ยง)
" อันหนึ่งกันไฟเกิน อีกอันกันไฟรั่ว "
“เบรกเกอร์” ที่ใช้ตามบ้านแบ่งตามวัตถุประสงค์มีสองประเภทใหญ่ๆ คือ “Circuit Breaker” และ “Earth Leak Circuit Breaker”(เขียนย่อว่า ELCB)
“Circuit Breaker” คืออุปกรณ์คอยป้องกันไม่ให้มีกระแสไฟไหลเข้าสู่สายไฟมากเกินจนเกิดอาการสายไฟไหม้ เพราะสายไฟแต่ละขนาดมีความสามารถในการรับไฟฟ้าไม่เท่ากัน ถ้าใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าในสายนั้นมากไป สายจะร้อนและไหม้ได้ วิธีการป้องกันของ Circuit Breaker ก็คือ เมื่อมีไฟฟ้าไหลผ่านเกินขนาดเบรกเกอร์จะตัดกระแสไฟนั้นเสีย เราจะพบ “Circuit Breaker” ตามตู้ไฟปกติ
ส่วน “Earth Leak Circuit Breaker” คือ อุปกรณ์ป้องกันไม่ให้มีไฟรั่ว โดยอุปกรณ์นี้จะคอยดูว่าไฟที่ไหลเข้ามากับไฟที่วนกลับไปในวงจรมีค่าเท่ากันหรือไม่ ถ้าหากไม่เท่ากัน แสดงว่ามีไฟรั่วออกไป อุปกรณ์นี้ก็จะตัดกระแสไฟนั้น ตัว ELCB เอาไว้ติดตั้งกับอุปกรณ์ที่มีความเสี่ยงด้านไฟรั่ว เช่น เครื่องทำน้ำอุ่น เครื่องทำน้ำร้อน เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น ตู้น้ำเย็น ปั๊มน้ำ
หน้าตาคล้าย แต่ห้ามใช้สลับกัน
แม้หน้าตาของอุปกรณ์ทั้งสองประเภทจะดูคล้ายๆ กัน แต่โดยทั่วไป ELCB จะมีราคาแพงกว่า “Circuit Breaker” เสมอ และจะมีสวิตซ์ตรวจสอบอยู่ด้วย เมื่อกดสวิตซ์จะเป็นการตรวจสอบว่าตัว ELCB ยังทำงานดีอยู่หรือไม่
" ทั้งสองตัวมีวัตถุประสงค์ในการใช้งานต่างกัน และห้ามใช้สลับกัน "
ถ้าใช้ ELCB แทน “Circuit Breaker” ไฟจะไม่ได้ตัดเมื่อมีการใช้กำลังไฟเกินตัว แต่จะตัดเมื่อไฟรั่วเท่านั้น หากกระแสไฟเกินตัว ELCB จะพังไปเลย (เพราะไม่ได้ผลิตมาเพื่อตรวจจับไฟเกิน)
ที่น่ากลัวกว่านั้นคือหากใช้ “Circuit Breaker” แทน ELCB เพราะ ถ้าหากเกิด ไฟดูด ไฟรั่ว กระแสไฟจะไม่ถูกตัด จะถูกตัดก็ต่อเมื่อมีไฟกระชากรุนแรงเท่านั้น (เพราะไม่ได้ถูกผลิตมาเพื่อตรวจจับไฟรั่ว) ซึ่งถ้าถึงจุดนั้น ก็ไม่สามารถรักษาชีวิตคนที่ถูกไฟดูดได้แล้ว
Share this post :
Related Articles
Long Covid มองไม่เห็นแต่ป้องกันได้
Long Covid หรือ Post Covid-19 Syndrome คือ ภาวะของที่หายจากโควิด-19 และไม่มีเชื้อในร่างกายแล้ว แต่ยังมีอาการหลงเหลืออยู่ ซ...
รับมือบ้านร้อน ต้อนรับเมษาฯ
หน้าร้อนบ้านเราเรียกได้ว่าร้อนไฟลุกเลยทีเดียว และเป็นสิ่งที่คนไทยหลีกเลี่ยงไม่ได้ด้วย แม้ในยุคนี้จะมีการออกแบบบ้าน-อาคารมา...
มิเตอร์ไฟฟ้า เลือกขนาดยังไงให้เหมาะสมกับบ้าน?
อย่างแรกเราต้องมาอ้างอิงกันก่อนว่าเราอยู่ในพื้นที่ไหน รับการไฟฟ้าจากส่วนไหน โดยหลักๆไฟฟ้าที่เรารับมาจะมีอยู่ 2 แหล่งคือการ...
ติดต่อเรา
Read More