Call Us:
098-9245815
จันทร์ - เสาร์ : 09.00 น. - 18.00 น.
OUR LOCATION
178/50 ซ.วุฒากาศ 14 แขวงตลาดพลู เขตธนบุรี , กรุงเทพฯ 10600,
SEND US EMAIL
pichaipat@faifahpro.biz
หน้าแรก
เกี่ยวกับเรา
บทความ
สื่อ
กิจกรรม
ติดต่อเรา
หน้าแรก
เกี่ยวกับเรา
บทความ
สื่อ
กิจกรรม
ติดต่อเรา
รับมือกับน้ำท่วม
หน้าแรก
บทความ
รับมือกับน้ำท่วม
รับมือกับน้ำท่วม
ในช่วงนี้มีฝนตกหนักตลอดทั้งวัน อีกทั้งยังมีพายุเข้ามาในประเทศไทย ทำให้หลายพื้นที่เกิด
น้ำท่วม
และได้รับความเสียหายทางทรัพย์สิน ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า เฟอร์นิเจอร์ และสิ่งของอื่นๆที่อยู่ในบ้าน ทางไฟฟ้าโปร มีแนวทางมาแนะนำในการเตรียมตัวรับสถานการณ์น้ำท่วมมาฝากนะคะ
ก่อนน้ำท่วม
- เฝ้าระวังและติดตามข่าวสารอยู่เสมอ
น้ำท่วมเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น พายุเข้าทำให้ฝนตกติดต่อกันเป็นเวลานาน, น้ำป่าไหลหลาก, น้ำทะเลหนุน ฯลฯ หากบ้านของคุณอยู่ในพื้นที่ที่เสี่ยงต่อน้ำท่วม ควรติดตามข่าวสารจากแหล่งข่าวที่น่าเชื่อถือ หรือสอบถามหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
- จัดกระเป๋าเตรียมของสำคัญ
ควรรวบรวมเอกสารสำคัญ เช่น ใบเกิด, ทะเบียนบ้าน, สมุดบัญชีธนาคาร จัดเก็บในถุงที่กันน้ำ สามารถหยิบได้ง่ายและปลอดภัย
- เตรียมขนย้ายข้าวของเครื่องใช้
เมื่อถูกประกาศเป็นพื้นที่เฝ้าระวังน้ำท่วม จัดเก็บข้าวของจำเป็น เครื่องใช้ไฟฟ้า เฟอร์นิเจอร์ และย้ายขึ้นที่สูงโดยเร็วที่สุด
- หาวิธีป้องกันน้ำเข้าท่วมบ้าน
หากยังพอมีเวลาเตรียมตัว ควรทำที่กั้นน้ำเพื่อป้องกันตัวบ้านไม่ให้น้ำเข้า เช่น วางกระสอบทรายไว้รอบๆและภายในบ้านในจุดที่เสี่ยงน้ำท่วม ส่วนในที่ๆมีท่อระบายน้ำเช่นห้องน้ำ คุณอาจนำกระสอบทรายวางทับท่อระบายน้ำ หรือใช้เศษผ้า หนังสือพิมพ์อัดภายในท่อให้แน่นเพื่อป้องกันน้ำท่วมผุดขึ้นมาในบ้าน
- แผนอพยพ
ควรวางแผนว่าหากน้ำท่วมฉับพลัน คุณและครอบครัวจะไปพักอาศัยที่ไหน เดินทางอย่างไร และควรบันทึกหรือจดเบอร์โทรศัพท์สำคัญของหน่วยงานต่างๆ เผื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน
สิ่งของจำเป็นที่แนะนำให้เตรียมไว้
1. เอกสารสำคัญให้เก็บไว้ในถุงหรือซองกันน้ำ เช่น บัตรประชาชน ทะเบียนบ้าน สมุดบัญชีธนาคาร ฯลฯ
2. น้ำดื่มสะอาด – อาหารสำหรับคนและสัตว์เลี้ยง
3. ยาสามัญประจำบ้าน เช่น ยาลดไข้ ยาล้างแผล เกลือแร่ และยาสำหรับผู้มีโรคประจำตัว
4. สิ่งของจำเป็น เช่น นกหวีด ผ้าอนามัย เชือก ถุงพลาสติก กระดาษชำระ มีด
5. อุปกรณ์ให้แสงสว่าง เช่น ไฟฉาย เทียนไข ไม้ขีดไฟ ไฟแช็ก
6. กระเป๋าสำหรับใส่ของ เพื่อให้สะดวกในการพกพา
ขณะน้ำท่วม
-
ตั้งสติ อย่าตกใจจนเกินไป
ให้ทำตามแผนที่เตรียมไว้และพร้อมประเมินสถานการณ์อยู่เสมอว่าควรอพยพออกจากตัวบ้านหรือไม่
- ปิดสวิตช์เครื่องใช้ไฟฟ้าและวาล์วแก๊สทั้งหมด
ในกรณีที่น้ำกำลังจะท่วมเข้าในตัวบ้าน เพื่อป้องกันปัญหาไฟรั่ว, ไฟฟ้าลัดวงจร, แก๊สรั่ว ฯลฯ ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อตัวบ้านและทรัพย์สินของคุณ ควรปิดสวิตช์ ถอดปลั๊ก
- เครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งหมด
ปิดวาล์วต่างๆภายในบ้านและรอบๆบ้าน
- ระมัดระวังสิ่งรอบตัวมากขึ้น
- ระวังสัตว์เลื้อยคลานหรือสัตว์อันตรายที่มาพร้อมกับน้ำท่วม
- ไม่ควรเข้าใกล้หรือจับปลั๊กไฟ สวิตช์ไฟและเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ
- ควรสวมใส่รองเท้าที่ปิดมิดชิดหากต้องเดินลุยน้ำ เพราะบนพื้นอาจมีเศษแก้ว ของมีคม สิ่งแปลกปลอม สัตว์ดุร้าย และในน้ำซึ่งเป็นแหล่งรวมของเชื้อโรคอาจมีสารเคมีต่างๆปะปนอยู่ด้วย ทางที่ดีควรหลีกเลี่ยงการเดินในบริเวณที่มีน้ำท่วม
-
การเดินทาง
ควรตรวจสอบเส้นทางที่หลีกเลี่ยงทางน้ำท่วม เพราะเส้นทางเดิมที่คุณเคยชินอาจถูกน้ำพัดขาดหรือถนนเสียหาย ดังนั้นควรเดินทางด้วยความระมัดระวังและคอยสังเกตเส้นทางอยู่เสมอ หากน้ำท่วมสูงมากจนรถไม่สามารถขับผ่านไปได้ ไม่ควรฝืนขับต่อ แต่ควรติดต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อขอความช่วยเหลือ
หากอยู่นอกบ้าน
1. ห้ามเดินตามเส้นทางที่น้ำไหล เนื่องจากหากกระแสน้ำแรงอาจพัดพาไปได้ หากจำเป็นต้องเดินผ่านที่น้ำไหลให้ลองใช้ไม้จุ่ม เพื่อวัดระดับน้ำก่อนทุกครั้ง
2. ห้ามขับรถในพื้นที่ที่กำลังเกิดน้ำท่วม ซึ่งมีความเสี่ยงสูงที่จะจมน้ำ นอกจากจะทำให้รถเสียหายแล้วอาจอันตรายถึงชีวิตได้
3. ห้ามเข้าใกล้อุปกรณ์ไฟฟ้า เสาไฟฟ้า สายไฟฟ้า เนื่องจากหากมีไฟฟ้ารั่ว อาจถูกไฟดูดได้
หลังน้ำท่วม
-
สำรวจอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้า
ก่อนใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าหรือ เปิด-ปิด สวิตช์ไฟต่างๆ ควรตรวจเช็คคัทเอาท์ และเรียกช่างไฟมาตรวจสอบก่อนการใช้งาน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจรที่อาจก่อให้เกิดเหตุไฟไหม้ตามมาได้
-
ถ่ายรูปบริเวณต่างๆ ในตัวบ้าน
เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการเรียกค่าชดเชยจากประกันบ้านของคุณ
-
ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อ
คุณอาจจะต้องพบกับศึกหนักในการทำความสะอาดบ้านและบริเวณรอบๆ เพราะน้ำที่ท่วมขัง คราบโคลน และสิ่งของต่างๆ ที่เกิดจากน้ำท่วมขังและกักเก็บสิ่งปฏิกูล เชื้อโรคหรือสิ่งที่ไม่พึงประสงค์และระวังเรื่องสุขอนามัย และโรคภัยที่มากับน้ำท่วม เช่น น้ำกัดเท้า ตาแดง ท้องร่วง
-
ตรวจสอบความเสียหายของโครงสร้าง
ตัวบ้าน ระเบียง หลังคา ให้แน่ใจว่าปลอดภัย หากเสียหาย ให้รีบซ่อมแซม
-
พักผ่อนและกินอาหารที่เป็นประโยชน์
ดูแลสุขภาพและสร้างความอบอุ่นในครอบครัวที่จะช่วยเยียวยารักษาได้ดี
บทความนี้เป็นแค่แนวทางในการแนะนำสามารถนำไปปรับใช้ให้เข้ากับสถานการณ์ได้เพื่อความปลอดภัยในชีวิตและป้องกันการเกิดความเสียหายที่จะเกิดขึ้นไม่มาก็น้อย
ไฟฟ้าโปร
ยังมีบทความดี ๆให้เลือกอ่านอีกมากมาย สามารถเลือกบทความต่อไปได้เลยค่ะ
"อันตรายจากไฟฟ้า มองไม่เห็นแต่ป้องกันได้ เพราะชีวิตประเมินค่าไม่ได้"
Share this post :
Related Articles
เดินสายไฟภายในบ้าน แบบไหนดี ?
การเดินสายไฟภายในอาคาร หรือ ภายในบ้าน ส่วนใหญ่แล้วช่างผู้เชี่ยวชาญด้านไฟฟ้า จะมีวิธีการเดินสายไฟอยู่ 3 รูปแบบ...
เบรกเกอร์กันดูด RCBO ใช้แทนคัทเอาท์ ได้หรือไม่ ?
หากที่บ้านของเราใช้งานคัทเอาท์และฟิวส์เป็นอุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้าหลักของบ้าน แล้วต้องการเพิ่มความปลอดภัยจากการโดนไฟฟ้าดูด-ไฟฟ้...
ใช้โทรศัพท์มือถือ ตอนฝนตก ฟ้าจะผ่าจริงมั้ย?
เคยได้ยินมั้ย การคุยหรือใช้โทรศัพท์ตอนฝนตกฟ้าร้องเป็นอันตรายเพราะจะทำให้โดนฟ้าผ่าได้ ซึ่งก็มีทั้งคนที่เชื่อไม่กล้าหยิบโทรศ...
ติดต่อเรา
Read More