Call Us:
098-9245815
จันทร์ - เสาร์ : 09.00 น. - 18.00 น.
OUR LOCATION
178/50 ซ.วุฒากาศ 14 แขวงตลาดพลู เขตธนบุรี , กรุงเทพฯ 10600,
SEND US EMAIL
pichaipat@faifahpro.biz
หน้าแรก
เกี่ยวกับเรา
บทความ
สื่อ
กิจกรรม
ติดต่อเรา
หน้าแรก
เกี่ยวกับเรา
บทความ
สื่อ
กิจกรรม
ติดต่อเรา
ที่มาของไฟฟ้าในเมืองไทย
หน้าแรก
บทความ
ที่มาของไฟฟ้าในเมืองไทย
ที่มาของไฟฟ้าในเมืองไทย
ทำไมเราจึงเปลี่ยนแรงดันไฟฟ้าจาก 110 V. เป็น 220 V.
“จอมพล เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต) ผู้นำไฟฟ้ามาสู่ประเทศไทย”
ไฟฟ้าเริ่มให้ความสว่างไสวเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2422 ที่เมนโลปาร์ค รัฐนิวเจอร์ซี สหรัฐอเมริกา ต่อมาในปี พ.ศ. 2425 ได้มีการสร้างระบบไฟฟ้าแสงสว่างที่ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษและที่สถานีเพิร์ลสตรีท ตอนใต้กรุงนิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา
บุคคลสำคัญที่นำไฟฟ้ามาสู่ประเทศไทย คือ จอมพลเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต) ซึ่งขณะนั้นยังมีบรรดาศักดิ์เป็น “ จมื่นไวยวรนาถ” โดยนำเงินที่ได้มาจากการขายที่ดินให้กับสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชเทวี จำนวน 180 ชั่ง หรือ 14,400 บาท ไปซื้อเครื่องกำเนิดไฟฟ้า 2 เครื่อง จากประเทศอังกฤษและเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2427 ซึ่งเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้มีการจ่ายกระแสไฟฟ้าที่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง ซึ่งนับเป็นการเริ่มต้นการมีไฟฟ้าของไทยมาตั้งแต่บัดนั้น
ไฟฟ้าที่ประเทศไทยเริ่มนำมาใช้ ตามหลังการใช้ไฟฟ้าของประเทศอังกฤษ เพียง 2 ปี…….
เมื่อก่อนเลยย้อนกลับไปสมัย โทมัส อัลวา เอดิสัน คิดค้นเรื่องกระแสไฟฟ้า เขาค้นพบว่าที่ไฟฟ้า 100V นั้น จะทำให้ไส้หลอดที่ทำจากคาร์บอน มีอายุการใช้งานยืนยาวที่สุด เพราะไฟฟ้าสมัยนั้นสร้างขึ้นเพื่อสำหรับหลอดไฟ ที่เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าอย่างแรก ดังนั้นต้องทำให้ใช้งานได้นานเพื่อให้ต้นทุนที่ทำหลอดไฟนั้นคุ้มค่าที่สุด แต่ตอนที่ใช้ไฟฟ้าจริง จะส่งไฟฟ้า 110V ซึ่งเพิ่มขึ้นอีก10% ชดเชยอัตราที่จะลดลงเมื่อส่งกระแสไฟฟ้าตามสายไฟไประยะทางไกลๆ
ส่วนบ้านเราที่ไทยนั้น จริงๆแล้ว รู้ไหมว่า เราเคยใช้ไฟฟ้า 110V ด้วยนะ………
แต่ใช้อยู่ช่วงสั้นๆเท่านั้น พอภายหลังแล้ว ประเทศเยอรมนีค้นพบว่า ไฟฟ้าขนาด 220Vนั้น ทำให้ต้นทุนของสายไฟ เครื่องใช้ อุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆนั้น ถูกกว่าไฟฟ้าแบบ 110V เพราะปรับเปลี่ยนไส้หลอดไฟฟ้าจากคาร์บอนมาเป็นโลหะได้สำเร็จ ทีนี้ประเทศในยุโรปก็เลยใช้ตามเยอรมนี....ประเทศไทยก็เลยได้เปลี่ยนมาใช้ไฟฟ้าแบบ 220V ตามแบบยุโรปด้วย ซึ่งตอนนั้นไฟฟ้าเป็นของใหม่ในประเทศไทย ทำให้อุปกรณ์ไฟฟ้านั้นยังมีไม่มากนัก การปรับเปลี่ยนจึงยังไม่กระทบอะไรมากในวงกว้าง
ซึ่งระบบไฟฟ้า 110V นั้นมีต้นทุนสูงกว่า 220V เนื่องจากว่า “ตามกฏ Watt = Volt x Amp”
ถ้า Watt(กำลังไฟฟ้า) คงที่ Volt(ศักย์ไฟฟ้า) สูงขึ้น ดังนั้น Amp(กระแสไฟฟ้า) ก็จะลดลง พอกระแสไฟฟ้าลดลง ขดลวดที่ใช้ก็จะลดลงตามไปด้วย – ต้นทุนต่างๆในการผลิตและส่งไฟฟ้าก็จะลดลงนั่นเอง ดังนั้นสายไฟ 110V มีหน้าตัดทองแดงใหญ่กว่า น้ำหนักก็เลยมากกว่า คราวนี้เวลาขึงสายไฟ ระยะห่างของเสาไฟฟ้าแต่ละต้นก็เลยต้องสั้นกว่า ไม่อย่างนั้น สายไฟหนักก็ห้อยย้อย และสายไฟแรงสูงก็ต้องสูงลอยจากพื้นอย่างน้อย 9 เมตร
Share this post :
Related Articles
ไฟฉุกเฉิน..มีไว้อุ่นใจกว่า
สถานการณ์ไฟดับนั้นคงไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยๆ แต่จะดีกว่ามั้ยถ้าหากไฟดับแล้วเรายังมีแสงสว่างที่สามารถส่องแสงได้ตลอดทั้งคืนอีกด้ว...
ทำไมถึงควรตรวจระบบไฟฟ้าภายในบ้าน ??
การที่ไฟฟ้าบางจุดมีปัญหา ต้นเหตุอาจจะไม่ได้มาจากจุดนั้น ๆ เช่น เต้ารับมีไฟแล่บ เบรกเกอร์ทริป หลอดไฟติด ๆ ดับ ๆ บริการของไฟ...
เดินสายไฟภายในบ้าน แบบไหนดี ?
การเดินสายไฟภายในอาคาร หรือ ภายในบ้าน ส่วนใหญ่แล้วช่างผู้เชี่ยวชาญด้านไฟฟ้า จะมีวิธีการเดินสายไฟอยู่ 3 รูปแบบ...
ติดต่อเรา
Read More