Call Us:
098-9245815
จันทร์ - เสาร์ : 09.00 น. - 18.00 น.
OUR LOCATION
178/50 ซ.วุฒากาศ 14 แขวงตลาดพลู เขตธนบุรี , กรุงเทพฯ 10600,
SEND US EMAIL
pichaipat@faifahpro.biz
หน้าแรก
เกี่ยวกับเรา
บทความ
สื่อ
กิจกรรม
ติดต่อเรา
หน้าแรก
เกี่ยวกับเรา
บทความ
สื่อ
กิจกรรม
ติดต่อเรา
การคำนวณค่าไฟฟ้าด้วยตัวเอง
หน้าแรก
บทความ
การคำนวณค่าไฟฟ้าด้วยตัวเอง
การคำนวณค่าไฟฟ้าด้วยตัวเอง
หยิบบิลค่าไฟขึ้นมาดูบางคนสงสัยการไฟฟ้ามีการคิดการคิดค่าไฟยังไง การคิดค่าไฟของการไฟฟ้านครหลวงกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจะมีวิธีการคิดที่เหมือนกัน ก่อนอื่นเราต้องมาทราบก่อนว่าการคิดค่าไฟของเรามันเป็นประเภทที่เท่าไหร่ที่การไฟฟ้ากำหนด
บ้านอยู่อาศัยจะเป็นการคิดค่าไฟ ประเภทที่ 1 ลักษณะการใช้ สำหรับการใช้ไฟฟ้าในบ้านเรือนที่อยู่อาศัย วัดและโบสถ์ของศาสนาต่างๆ ตลอดจนบริเวณที่เกี่ยวข้อง โดยต่อผ่านเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าเครื่องเดียว ซึ่งการคิดค่าไฟประเภทที่ 1 จะมีอยู่ด้วยกัน 3 รูปแบบ
รูปแบบที่ 1
บ้านอยู่อาศัยอัตรา 1.1 เป็นบ้านอยู่อาศัยที่ใช้พลังงานไฟฟ้าไม่เกิน 150 หน่วยต่อเดือน
รูปแบบที่ 2
บ้านอยู่อาศัยอัตรา 1.2 เป็นบ้านอยู่อาศัยที่ใช้พลังงานไฟฟ้าเกิน 150 หน่วยต่อเดือน
รูปแบบที่ 3
อัตราตามช่วงเวลาการใช้งานหรือ (Time of Use Tariff : TOU Tariff) เป็นอัตราการกักเก็บค่าไฟฟ้าที่ขึ้นอยู่กับช่วงเวลาการใช้งาน โดยแบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ *
ช่วงความต้องการไฟฟ้าสูง (On Peak)
ระหว่างเวลา 09.00-22.00 น. ของวันทำงาน (จันทร์-ศุกร์) อัตราค่าไฟฟ้า 5.7982 บาท ต่อหน่วย *
ช่วงความต้องการไฟฟ้าต่ำ (Off Peak)
ระหว่างเวลา 22.00-09.00 น.ของวันทำงาน (จันทร์-ศุกร์) และช่วงเวลาระหว่าง 00.00-24.00 ของวันเสาร์-อาทิตย์ วันแรงงานแห่งชาติ วันหยุดราชการตามปกติ (ไม่รวมวันพืชมงคลและวันหยุดชดเชย) อัตราค่าไฟฟ้า 2.6369 บาท ต่อหน่วย
ที่เราต้องมาทราบการคิดประเภทค่าไฟเพราะว่ารูปแบบแต่ละรูปแบบจะมีหน่วยค่าไฟที่แตกต่างกันค่ะ ในที่นี่แอดมินจะขอคิดค่าไฟตามบิลแจ้งค่าไฟฟ้าในห้องของแอดมินนะคะ และในเดือนที่ผ่านมาแอดมินก็มีการใช้ไฟอยู่ที่ 337 หน่วยค่ะ และหน่วยไฟฟ้าคิดยังไง?
“ สูตรคำนวณหน่วยไฟฟ้า ให้นำจำนวนวัตต์ของเครื่องใช้ไฟฟ้า มาหารด้วย 1,000 เพื่อแปลงเป็นหน่วย kWh จากนั้นคูณด้วยจำนวนชั่วโมงที่ใช้ต่อวันและคูณ 30 อีกครั้ง เพื่อหาจำนวนหน่วยไฟฟ้าต่อเดือน “
>> กำลังไฟฟ้า (วัตต์) ÷ 1,000 x ชั่วโมงที่ใช้งานต่อวัน x 30 = จำนวนหน่วยไฟฟ้าต่อเดือน >>
ก่อนที่จะไปถึงขั้นตอนการคิดค่าไฟ แอดมินอยากจะให้ทุกคนทราบค่าค่าหนึ่งก่อนนั่นก็คือ ค่า Ft หรือ ค่าไฟฟ้าผันแปร ค่า Ft เป็นต้นทุนค่าใช้จ่ายด้านเชื้อเพลิงและค่าซื้อไฟฟ้า ที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของการไฟฟ้า ค่า Ft จะถูกกำหนดโดยคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.)
ซึ่งในปัจจุบันค่า Ft จะมีค่าอยู่ที่หน่วยละ 0.9343 หรือ 93.43 สตางค์ ค่า Ft จะเปลี่ยนไปทุกๆ 4 เดือน
คราวนี้เรามาเริ่มขั้นตอนการคิดค่าไฟกันเลยดีกว่าค่ะ โดยค่าไฟฟ้าจะประกอบด้วย 3 ส่วนหลักๆ
1.ค่าไฟฟ้าฐาน
ค่าไฟฟ้าฐานจะเป็นอัตราการคิดแบบก้าวหน้า นั่นก็คือว่าค่าไฟจะเพิ่มขึ้นเป็นขั้นบันไดตามหน่วยไฟฟ้าที่มันเพิ่มขึ้น โดยที่ 150 หน่วยแรกจะตกอยู่ที่หน่วยละ 3.2484 บาท และหน่วยที่ 151-400 จะตกอยู่ที่หน่วยละ 4.2218 บาท และหากมันมากกว่า 400 หน่วย จะตกอยู่ที่หน่วยละ 4.4217 บาท และในส่วนของค่าไฟฟ้าฐานจะบวกค่าบริการมาอีก 24.62 บาทด้วยค่ะ ตรงนี้อย่าลืมนะคะว่าค่าไฟฟ้าต่อหน่วยจะขึ้นอยู่กับรูปแบบบ้านที่เราอาศัย ตามที่แอดมินได้มีแจ้งไว้ตอนต้น ซึ่งกรณีการใช้ไฟของแอดมินได้ใช้อยู่ที่ 337 หน่วย จะมีวิธีการคิดดังนี้
150 หน่วยแรก : 150 x 3.2484 = 487.26 บาท
หน่วยที่ 151-337 : 187 x 4.2218 = 789.48 บาท
รวมเป็นจำนวนเงิน 1,276.74 บาท แล้วนำมาบวกค่าบริการอีก 24.62 บาท
เพราะฉะนั้นรวมค่าไฟฐานเป็นจำนวนเงิน 1.301.36 บาท
2.ค่าไฟฟ้าแปรผัน หรือ ค่า Ft
ให้เราเอาหน่วยไฟฟ้าที่เราใช้งานมาคูณด้วยค่า Ft จะมีวิธีการคิดดังนี้
337 x 0.9343 = 314.86 บาท
3. ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7 % (Vat)
ให้เรานำค่าไฟในส่วนที่ 1 มาบวกกับค่าไฟในส่วนที่ 2 จากนั้นค่อยนำมาคูณ 7% จะมีวิธีการคิดดังนี้
1.301.36 + 314.86 = 1,616.22 บาท
1,616.22 X 7% (113.14)
1,616.22 + 113.14
เพราะฉะนั้นบิลค่าไฟของแอดมินจะรวมเป็นเงินทั้งสิ้น 1,729.36 บาท
Share this post :
Related Articles
สายดินจำเป็นต้องมีมั้ย????
เคยเห็นคำว่า “อันตรายถึงชีวิตถ้าไม่ติดตั้งสายดิน” หรือไม่ บ้านเราจำเป็นต้องมีสายดินมั้ยนะ และทำไมต้องมีสายดินด...
การติดตั้งที่ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่บ้าน มีวิธีการอย่างไรบ้าง
ในปัจจุบันการเลือกซื้อรถยนต์นั้นมีให้เลือกหลากหลายแบบ หลายราคา และรถยนต์ไฟฟ้าเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ผู้บริโภคเลือกซื้อในลำ...
ท่อร้อยสายไฟ PVC กับ โลหะ แตกต่างกันอย่างไรและการใช้งานแบบไหนถึงจะตอบโจทย์?
เป็นที่รู้กันดีอยู่แล้วว่าหน้าที่ของท่อร้อยสายไฟคือ การกันกระแทกที่จะทำให้เกิดอันตรายต่อฉนวนของสายไฟฟ้าและมันก็ยังกันพวกสั...
ติดต่อเรา
Read More