Call Us:
098-9245815
จันทร์ - เสาร์ : 09.00 น. - 18.00 น.
OUR LOCATION
178/50 ซ.วุฒากาศ 14 แขวงตลาดพลู เขตธนบุรี , กรุงเทพฯ 10600,
SEND US EMAIL
pichaipat@faifahpro.biz
หน้าแรก
เกี่ยวกับเรา
บทความ
สื่อ
กิจกรรม
ติดต่อเรา
หน้าแรก
เกี่ยวกับเรา
บทความ
สื่อ
กิจกรรม
ติดต่อเรา
กราวด์ (Ground) กับ นิวตรอน (Neutral) ต่างกันอย่างไร ? ทำไมต้องจั้มเข้าด้วยกัน...!!
หน้าแรก
บทความ
กราวด์ (Ground) กับ นิวตรอน (Neutral) ต่างกันอย่างไร ? ทำไมต้องจั้มเข้าด้วยกัน...!!
กราวด์ (Ground) กับ นิวตรอน (Neutral) ต่างกันอย่างไร ? ทำไมต้องจั้มเข้าด้วยกัน...!!
ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจ Concept ไฟฟ้าไปในทิศทางเดียวกันซะก่อน ซึ่งนิสัยของไฟฟ้าจริงๆแล้วจะมีอยู่ด้วยกัน 3 ข้อ
1. ไฟฟ้าจะไหลผ่านวงจรก็ต่อเมื่อ มันเชื่อมต่อกันแบบสมบูรณ์เท่านั้น (ครบวงจร)
2. ไฟฟ้าจะพยายามไหลกลับไปยังแหล่งกำเนิดของมันเสมอ
3. ไฟฟ้าจะไหลไปในเส้นทางที่มันไปได้ทั้งหมด เพื่อให้วงจรสมบูรณ์และเลือกเส้นทางที่มีค่าความต้านทานน้อยที่สุด
ก่อนที่จะไปดูไฟฟ้ากระแสสลับเรามาเข้าใจวงจรไฟฟ้ากระแสตรงกันซะก่อน อย่างเช่น เราจะต่อแบตเตอรี่กับโหลด โหลดก็คือหลอดไฟ ถ้าเราจะทำให้มันสว่างเราต้องเราก็ต้องเชื่อมต่อสายไฟ 2 เส้นต่อเข้ากับขั้วของแบตเตอรี่ เมื่อเราต่อหลอดไฟมันก็จะติดกระแสมันก็จะไหล เพราะฉะนั้นวงจรนี้ก็จะสมบูรณ์ หากเราไปดูที่บาร์เบรคเกอร์ภายในบ้านของเรา สาย L มันก็จะนำกระแสไฟฟ้าจากแหล่งจ่ายไปยังโหลด แล้วก็สาย N ก็จะนำกระแสไฟฟ้าจากโหลดกลับไปหาแหล่งจ่ายค่ะ แน่นอนค่ะว่าแหล่งจ่ายมันไม่ใช่แบตเตอรี่เหมือนไฟฟ้ากระแสตรง แต่ว่าเค้าจะใช้เป็นหม้อแปลงแทน ภายในหม้อแปลงจะพันเป็นขดลวดแล้วก็จะมีสายไฟอยู่ 2 เส้นออกมาจาก 1 ขดนั่นก็คือสาย L และก็สาย N จะได้แรงดัน 220 โวลต์ ไฟฟ้าที่ไหลในวงจรนี้ มันก็จะเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ คือ มันจะสลับไปสลับมา ซึ่งต่างจากไฟฟ้ากระแสตรงที่มันอยู่ในแบตเตอรี่ที่มันจะไหลไปในทิศทางเดียว การต่อแบบนี้ก็ถือว่ากระแสเนี้ยมันไหลในวงจรที่ค่อนข้างที่จะสมบูรณ์แล้วค่ะ
แล้วสายกราวด์มีหน้าที่อะไร มีไว้ทำไม? สายกราวด์หลักๆเลยก็คือ มันจะป้องกันอันตรายจากกระแสไฟที่มันรั่วไหล เพราะว่าสายกราวด์ในสภาวะปกติมันจะไม่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน แต่ในกรณีที่มันเกิดความผิดพลาดเกิดขึ้น อย่างเช่น สาย L โดนหนูแทะและเห็นทองแดงไปโดนโคลงหลอดขึ้นมา สายกราวด์มันก็จะนำกระแส เราก็จะเรียกว่าไฟฟ้ามันช็อต หรือว่า ไฟฟ้าลัดวงจรก็คือไฟฟ้ามันไม่ได้ไหลผ่านโหลดออกไป แต่มันจะลัดเข้าไปตรงๆ เพราะฉะนั้นเบรคเกอร์มันก็จะรู้สึกได้แล้วก็จะทำหน้าที่ตัดไฟฟ้าในทันที เราก็จะไม่โดนไฟดูด ส่วนสายกราวด์จะมีลักษณะเป็นสายทองแดงหุ้มฉนวนสีเขียวเราเรียกได้ว่ามันเป็นเส้นทางลัดเพื่อให้กระแสไฟฟ้าไหลกลับไปยังแหล่งพลังงาน เพราะว่าตัวมันมีความต้านทานที่ต่ำ ดังนั้นกระแสไฟฟ้าจึงเลือกไหลผ่านเส้นทางนี้เพราะว่ามันง่ายและมันก็ไหลกลับได้เร็วค่ะ ถ้าเปรียบเทียบวงจรไฟฟ้ากระแสตรงสายกราวด์มันก็เหมือนสายไฟที่มาจากขั้วแบตอีกเส้นหนึ่งที่วิ่งไปรอที่หลอด ในสภาวะปกติมันก็ไม่ได้นำกระแสแต่เมื่อสายไฟเส้น L ไปสัมผัสกับโลหะกระแสไฟฟ้าก็จะเลือกไหลผ่านสายกราวด์แทนค่ะ
กลับมาดูที่บ้านของเรากันบ้างค่ะ กระแสไฟฟ้ามันจะไหลผ่าน L เข้าไปที่โหลดแล้วก็วกออกมา อย่างที่แอดมินบอกไปใช่ไหมคะ ถ้า L ไปโดนกับโลหะมันก็จะไหลผ่านสายกราวด์กลับเข้าแผงเบรคเกอร์แล้วก็กลับไปที่หม้อแปลงผ่านสาย N เพราะเนื่องจากสายกราวด์มันก็มีความต้านทานที่ต่ำมากเช่นกัน มีค่าความต้านทานต่ำพอๆกับสาย N ค่ะ แต่กระแสที่มันไหลมันเพิ่มขึ้นอย่างกระทันหันเลยทำให้เบรคเกอร์ของเราตัด เพราะฉะนั้นทางผู้ผลิตอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าจึงมักจะต่อสายกราวด์เข้ากับทุกสิ่งทุกอย่างที่เขาคิดว่าไฟเนี้ยมันอาจจะรั่วไปโดนแตะเช่น โครงตู้เย็น โครงเครื่องซักผ้า โครงของเคสคอม หรือว่าโครงของไมโครเวฟค่ะ เพราะฉะนั้นโดยปกติแล้วเราก็จะอุ่นใจขึ้นมานิดหนึ่งถ้าหากเครื่องใช้ไฟฟ้าของรามีปลั๊ก 3 ตาอยู่และบ้านของลูกค้าก็มีเต้ารับที่เป็น 3 รู นั้นก็แสดงว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีกราวด์และก็ปลั๊กที่มีช่องกราวด์ก็ถือว่าปลอดภัยแล้วล่ะสิ
แต่แอดมินบอกได้เลยนะคะว่ามันไม่แน่เสมอไป ถ้าเกิดวันหนึ่งลูกค้าไม่ได้ใส่รองเท้าและเกิดไปเอาไขควงไปวัดแหย่กับปลั๊กไฟเล่นและพลาดท่าไปโดนกับสาย L ลูกค้าก็อาจจะสามารถโดนไฟดูดและเสียชีวิตได้เหมือนกันนะคะ เพราะว่าวงจรนี้มันสมบูรณ์ และถามว่าทำไมเบรคเกอร์ไม่ยอมตัด ที่เบรคเกอร์ไม่ยอมตัดก็เพราะว่าตัวเรามันยังมีความต้านทานอยู่ กระแสไฟฟ้ามันอาจจะดูดเราก็จริง แต่กระแสที่มันไหลไม่ได้สูงมากนักแต่ก็อาจจะทำให้เราถึงแก่ชีวิตได้ เพราะเบรคเกอร์ทั่วไปมันจะเช็คกระแสว่ามันไหลเกินค่าที่มันจะตัดไหม แค่นี้เองค่ะ และนี่ก็เป็น 1 ในเหตุผลที่ทำให้คนเสียชีวิตจากอุบัติเหตุประเภทนี้บ่อยมากค่ะ จะเรียกกรณีเหล่านี้ว่า ไฟฟ้ารั่ว นั่นเองค่ะ แต่โชคดีที่เทคโนโลยีปัจจุบันพัฒนาไปไกล มันจึงมีเบรคเกอร์ชนิดกันไฟรั่ว ไฟดูดเกิดขึ้น ซึ่งมันจะตัดกระแสไฟฟ้าเมื่อกระแสไฟฟ้าไหลกลับไม่เท่ากับกระแสไฟที่จ่ายออกหรือพูดง่ายๆว่าสายไฟ 2 เส้นมันมีค่าไม่เท่ากันก็แสดงว่าเกิดไฟรั่ว เบรคเกอร์มันจะฉลาดมาก มันรู้และจะตัดการทำงานอย่างรวดเร็วค่ะ ปกติมาตรฐานทั่วไปที่เห็นก็จะตรวจสอบกระแสที่มันไหลที่มันรั่วอยู่ที่ประมาณ 30 mA มันก็จะตัดการทำงาน เรียกได้ว่ายังไม่ทันโดนไฟดูดมันก็ตัดการทำงานแล้วล่ะค่ะ ซึ่งจะทำให้ตัวเราปลอดภัยมากๆค่ะ
Share this post :
Related Articles
5 ที่เคาท์ดาวน์ปีใหม่ วิวสวย บรรยากาศดี ต้อนรับปี 2022
ใกล้สิ้นปีแล้ว ด้วยสถานการณ์โควิด19 ที่ผ่านมาทำให้เราไม่ค่อยได้เที่ยวหรือสัมผัสบรรยากาศเทศกาลต่าง ๆ นัก เชื่อว่าหลายคนคงคิ...
ร้านขายอะไหล่-อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ราคาถูกในกรุงเทพฯ
ทุกบ้านต้องเคยมีปัญหาเกี่ยวกับระบบไฟฟ้า และเมื่อต้องซ่อมไฟ เปลี่ยนชิ้นส่วน อะไหล่ อุปกรณ์ไฟฟ้า การจะหาซื้อของเหล่านี้อาจจะ...
5 animals that harm electrical systems
สงสัยหรือไม่ทั้งที่ไฟก็ไม่รั่ว ทำไมไฟฟ้าถึงใช้งานไม่ได้ คุณอาจไม่รู้ว่าสัตว์ที่เราไม่คาดคิด หรือไม่ได้มีพิษภัยมาก แต่สามาร...
ติดต่อเรา
Read More