Call Us:
098-9245815
จันทร์ - เสาร์ : 09.00 น. - 18.00 น.
OUR LOCATION
178/50 ซ.วุฒากาศ 14 แขวงตลาดพลู เขตธนบุรี , กรุงเทพฯ 10600,
SEND US EMAIL
pichaipat@faifahpro.biz
หน้าแรก
เกี่ยวกับเรา
บทความ
สื่อ
กิจกรรม
ติดต่อเรา
หน้าแรก
เกี่ยวกับเรา
บทความ
สื่อ
กิจกรรม
ติดต่อเรา
สายดินจำเป็นต้องมีมั้ย????
หน้าแรก
บทความ
สายดินจำเป็นต้องมีมั้ย????
สายดินจำเป็นต้องมีมั้ย????
เคยเห็นคำว่า
“อันตรายถึงชีวิตถ้าไม่ติดตั้งสายดิน”
หรือไม่ บ้านเราจำเป็นต้องมี
สายดิน
มั้ยนะ และทำไมต้องมีสายดินด้วย วันนี้ทาง
ไฟฟ้าโปร
ได้รวบรวมข้อมูลเรื่องสายดิน ว่ามันคืออะไร มีความจำเป็นขนาดไหน
สายดิน
หรือ Earthing System เป็นสายไฟหรือตัวนำที่ต่อจากอุปกรณ์ไฟฟ้า เป็นเส้นทางสำหรับกระแสไฟฟ้าที่เกิดการรั่วไหล หรือ
ไฟรั่ว
ไหลกลับไปยังระบบตัดไฟ เพื่อให้
ระบบตัดไฟอัตโนมัติ
ทำงาน หรือไหลลงสู่ดิน เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่สามารถเกิดขึ้นได้จากการโดนไฟฟ้าช็อต หรือไฟฟ้าลัดวงจร
วิธีการติดตั้งสายดิน
สายดิน
ที่ใช้ในระบบไฟฟ้าทั่วไป ภายในสายประกอบด้วยลวดทองแดง หุ้มฉนวนพีวีซี (PVC) ซึ่งตามมาตรฐาน กำหนดให้ใช้สายที่มีฉนวนสีเขียวหรือสีเขียวสลับกับสีเหลือง ซึ่งเป็นสีเฉพาะของสายดิน
หลักดิน
คือ แท่งโลหะที่ฝังลงในดินเพื่อเป็นตัวเชื่อมสายต่อหลักดินจากเมนสวิตช์เข้ากับดิน หลักดินที่ใช้โดยทั่วไปทำจากเหล็กหุ้มด้วยทองแดง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 16 มิลลิเมตร (5/8 นิ้ว) ความยาว 2.40 เมตร และหลักดินที่ดีเมื่อตอกลงดินแล้วต้องมีความต้านทานการต่อลงดินไม่เกิน 5 โอห์ม หากเกินให้หาที่ใหม่
การติดตั้งหลักดินนั้น จะต้องทำการตอกลงไปในพื้นดินโดยตอกลงไปตรงๆในแนวดิ่ง แต่หากในพื้นดินที่ตอกหลักดินลงไปมีวัตถุหรือสิ่งกีดขวางที่แข็ง และไม่สามารถตอกหลักดินให้ทะลุลงไปตรงๆได้ กรณีนี้มาตรฐานได้อนุโลมให้ทิศทางที่ตอกลงไปในดิน สามารถเอียงไปได้ไม่เกิน 45 องศา หรืออาจใช้วิธีการขุดดินแล้วฝังแท่งหลักดินลงไปในแนวราบที่ความลึกไม่น้อยกว่า 75 เซนติเมตร
ไม่ควรต่อโครงโลหะของเครื่องใช้ไฟฟ้าลงดินโดยตรง โดยเฉพาะการใช้ตะปูคอนกรีตตอกไปที่ผนังหรือพื้น เพราะตะปูคอนกรีตไม่สามารถทำหน้าที่แทนหลักดินได้ การต่อลงดินที่ได้ผลต้องเดินสายดินไปที่เมนสวิตช์
การติดตั้งเครื่องตัดไฟรั่วหรืออุปกรณ์ป้องกันไฟดูด จะช่วยเสริมการป้องกันให้สมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น เช่น กรณีสายดินขาด เป็นต้น
ข้อดี-ข้อเสียของการติดตั้งสายดิน
ข้อดี
- ช่วยป้องกันไฟดูดสู่คน ในกรณีที่มีกระแสไฟรั่วไหล
- มีความปลอดภัยเกี่ยวกับระบบไฟฟ้า
- ถ้าหากเบรกเกอร์ไม่ทำงาน โอกาสในการโดนไฟดูดจะน้อยลง เพราะถ้าหากเบรกเกอร์ไม่ทำงาน ไฟฟ้าจะไหลเข้าสู่ดินแทนเรา
ข้อเสีย
- ถ้าหากไม่มีสายดิน ไฟที่รั่วอยู่นั้นจะเข้าสู่ตัวเอง
- ถ้าหากเราไม่ทำสายดิน การไฟฟ้าไม่ปล่อยไฟให้
การติดตั้งสายดินเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะจะมีผลต่อความปลอดภัย ดังนั้นจึงจะต้องติดตั้งระบบสายดินให้ถูกต้องตามมาตรฐาน และต้องหมั่นเช็กว่าสายดินเกิดการชำรุดหรือไม่ เพื่อป้องกันอันตรายที่เกิดจากไฟฟ้าสู่คุณ ทางไฟฟ้าโปร มีบริการตรวจเช็กระบบไฟฟ้า เพราะ"อันตรายจากไฟฟ้า มองไม่เห็นแต่ป้องกันได้ เพราะชีวิตประเมินค่าไม่ได้"
Share this post :
Related Articles
เบรกเกอร์กันดูด RCBO ใช้แทนคัทเอาท์ ได้หรือไม่ ?
หากที่บ้านของเราใช้งานคัทเอาท์และฟิวส์เป็นอุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้าหลักของบ้าน แล้วต้องการเพิ่มความปลอดภัยจากการโดนไฟฟ้าดูด-ไฟฟ้...
ท่อร้อยสายไฟ PVC กับ โลหะ แตกต่างกันอย่างไรและการใช้งานแบบไหนถึงจะตอบโจทย์?
เป็นที่รู้กันดีอยู่แล้วว่าหน้าที่ของท่อร้อยสายไฟคือ การกันกระแทกที่จะทำให้เกิดอันตรายต่อฉนวนของสายไฟฟ้าและมันก็ยังกันพวกสั...
ทำไม “มด” ถึงทำให้ระบบไฟฟ้ามีปัญหา!
ปลั๊กไฟเป็นอุปกรณ์ที่มีอยู่ทุกบ้าน มีหน้าที่เป็นจุดเชื่อมต่อ เพื่อนำกระแสไฟฟ้าเข้าสู่เครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดต่างๆ เพื่อให้ใช้ง...
ติดต่อเรา
Read More