Call Us:
098-9245815
จันทร์ - เสาร์ : 09.00 น. - 18.00 น.
OUR LOCATION
178/50 ซ.วุฒากาศ 14 แขวงตลาดพลู เขตธนบุรี , กรุงเทพฯ 10600,
SEND US EMAIL
pichaipat@faifahpro.biz
หน้าแรก
เกี่ยวกับเรา
บทความ
สื่อ
กิจกรรม
ติดต่อเรา
หน้าแรก
เกี่ยวกับเรา
บทความ
สื่อ
กิจกรรม
ติดต่อเรา
การติดตั้งที่ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่บ้าน มีวิธีการอย่างไรบ้าง
หน้าแรก
บทความ
การติดตั้งที่ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่บ้าน มีวิธีการอย่างไรบ้าง
การติดตั้งที่ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่บ้าน มีวิธีการอย่างไรบ้าง
ในปัจจุบันการเลือกซื้อรถยนต์นั้นมีให้เลือกหลากหลายแบบ หลายราคา และ
รถยนต์ไฟฟ้า
เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ผู้บริโภคเลือกซื้อในลำดับต้นๆ เพราะสามารถลดค่าใช้จ่ายค่าน้ำมันไปได้มาก และเมื่อเราซื้อ
รถยนต์ไฟฟ้า
การติดตั้งที่
ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า
ในบ้าน ทางไฟฟ้าโปร จึงได้รวบรวมข้อมูลการติดตั้งชาร์ตรถไฟฟ้าในบ้านไว้ ซึ่งมีวิธีการดังนี้
1. ขนาดมิเตอร์ไฟ
ถ้ามิเตอร์ไฟฟ้ามีขนาดเล็กกว่า 30 แอมป์ (30/100) เช่น 5 แอมป์ หรือ 15 แอมป์ ควรแจ้งเปลี่ยนมิเตอร์ไฟให้มีขนาดตั้งแต่ 30 แอมป์ขึ้นไป หรือถ้าเป็นมิเตอร์ 3 เฟส ก็ควรใช้ขนาด 15/45 เพื่อให้มิเตอร์มีขนาดเพียงพอสำหรับรองรับปริมาณการใช้ไฟในบ้านที่มากขึ้น แต่การพิจารณาว่าจะใช้ไฟฟ้า 1 เฟส หรือ 3 เฟส ก็ต้องพิจารณารุ่นของรถยนต์ไฟฟ้าและคุณสมบัติของเครื่องชาร์จที่จะนำมาติดตั้งควบคู่กันไปด้วย
2. ขนาดสายไฟเมน
หลังจากเช็กมิเตอร์ไฟฟ้าแล้ว ก็ต่อด้วยการเช็กขนาดสายไฟเมน หรือขนาดสายไฟที่เชื่อมมายังตู้ควบคุม ต้องมีขนาดไม่เล็กกว่า 10 มิลลิเมตร ซึ่งเป็นขนาดหน้าของสายหรือขนาดของสายทองแดงนั่นเอง รวมไปถึงเช็กตู้ Main Circuit Breaker (MCB) ควรใช้ตู้ที่สามารถรองรับกระแสไฟได้สูงสุดไม่เกิน 100 แอมป์ด้วย
3. ตู้ควบคุมไฟฟ้า (MDB)
โดยดูว่ามีช่องว่างสำหรับติดตั้ง Miniature Circuit Breaker หรือไม่ เพราะการติดตั้งที่ชาร์จรถ EV จะต้องแยกช่องจ่ายไฟออกไปต่างหาก และช่องว่างนั้นควรมีขนาดตามพิกัดที่สามารถรองรับกระแสไฟของเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าได้ด้วย
ทั้งนี้ เวลาสร้างบ้านแล้วมีการติดตั้งตู้ประเภทนี้ควรมีช่องเหลือไว้ เช่น หากจำเป็นต้องใช้ 6 ช่อง ก็ควรเลือกตู้แบบ 10 ช่อง ให้มีเหลือไว้อีก 4 ช่อง เผื่อติดตั้งเครื่องใช้ไฟฟ้าภายหลัง ก็จะได้สามารถมาติดช่องเพิ่มได้
4. เครื่องตัดไฟรั่ว หรือ RCD
เครื่องตัดไฟรั่ว (Residual Current Device หรือ RCD) ไว้สำหรับตัดวงจรเมื่อมีค่ากระแสไฟฟ้าไหลเข้า-ออกไม่เท่ากัน ซึ่งเป็นสาเหตุที่อาจจะทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจรรวมไปถึงไฟไหม้ได้ เครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่ดี ควรมีระบบตัดไฟอย่างน้อย RCD Type B หรือเทียบเท่า
5. เต้ารับ
เต้ารับที่ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า EV จะไม่เหมือนเต้ารับเสียบปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไปในบ้าน การเสียบชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าควรใช้แบบ 3 รู และใช้หลักดินแยกออกจากหลักดินของระบบไฟในบ้าน โดยสายต่อหลักดินรถ EV ควรเป็นสายหุ้มฉนวน มีขนาดไม่ต่ำกว่า 10 ตารางมิลลิเมตร ส่วนหลักดินควรมีขนาด 16 มิลลิเมตร ยาว 2.4 เมตร ตามมาตรฐาน และการต่อสายดินกับหลักดินควรเชื่อมต่อด้วยความร้อน
สำหรับเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าแบบพกพา นอกจากการใช้เต้ารับแบบ 3 รูแล้ว ควรทนกระแสไฟได้ต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 16 แอมป์ด้วย และในส่วนของเครื่องชาร์จไฟที่มีอุปกรณ์ IC-CPD (In3Cable Control and Protection Device) ควรเป็นไปตามมาตรฐาน มอก. 2911 หรือ IEC 62752 ส่วนเครื่องชาร์จแบบติดผนัง (Wall Mounted Charger) ก็ควรได้รับมาตรฐาน มอก. 61851 หรือ IEC 61851 เช่นเดียวกัน
6. เช็กตำแหน่งก่อนติดตั้ง
วิธีเลือกจุดติดตั้งที่เหมาะสมคือ ระยะจากจุดติดเครื่องชาร์จ จนถึงจุดที่เสียบเข้าตัวรถที่จอด ไม่ควรเกิน 5 เมตร เนื่องจากสายเครื่อง EV Charger โดยทั่วไป อยู่ที่ 5-7 เมตรเท่านั้นและเลือกจุดที่สามารถเดินสายไฟจากเครื่องชาร์จไปยังตู้เมนไฟฟ้าในบ้านท่านได้สะดวก ไม่ควรเป็นโรงรถที่อยู่ห่างไกล เพราะจะต้องเสียค่าเดินสายไฟสูงขึ้น เลือกจุดที่มีหลังคาเพื่อป้องกันละอองฝน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับมาตรฐานการกันน้ำของเครื่อง EV Charger นั้นๆ
ข้อควรระวังการติดตั้งที่ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่บ้าน
ก่อนติดตั้งควรพิจารณาปริมาณการใช้ไฟฟ้าเดิมของบ้านและเครื่องชาร์จเสียก่อน หากปริมาณการใช้ไฟฟ้ารวมกันแล้ว เกินกว่าพิกัดของ MCB และมิเตอร์ไฟ ก็ควรเปลี่ยนระบบไฟฟ้าก่อน โดยขอเพิ่มขนาดมิเตอร์ผ่านหน่วยงานการไฟฟ้า เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานและป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น เนื่องจากเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าใช้กระแสไฟฟ้าสูง
ไม่ควรนำสายชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าแบบพกพาไปเสียบกับเต้ารับที่มีอยู่เดิมในบ้าน หากระบบไฟฟ้าเหล่านั้นไม่ได้ถูกออกแบบมารองรับการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าควรเดินระบบไฟฟ้าของที่ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าแยกออกจากระบบไฟฟ้าภายในบ้าน และทำโดยช่างไฟฟ้าที่มีความชำนาญ ทางไฟฟ้าโปร มีบริการติดตั้งเครื่องชาร์จรถไฟฟ้า และตรวจระบบไฟฟ้าภายในบ้านอีกด้วยนะ
Share this post :
Related Articles
ไขควงเช็คไฟฟ้ารั่ว เครื่องมือตรวจสอบไฟประจำบ้าน
ไขควงเช็คไฟฟ้ารั่ว อุปกรณ์ที่ทุกบ้านควรมีติดไว้และควรใช้ให้เป็น เราควรดูแลบ้านให้ครบทุกจุดรวมถึงระบบไฟฟ้าด้วย...
ไฟฉุกเฉิน..มีไว้อุ่นใจกว่า
สถานการณ์ไฟดับนั้นคงไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยๆ แต่จะดีกว่ามั้ยถ้าหากไฟดับแล้วเรายังมีแสงสว่างที่สามารถส่องแสงได้ตลอดทั้งคืนอีกด้ว...
ไฟดูด VS ไฟช็อต ต่างกันยังไง
ไฟฟ้าเป็นสิ่งที่อันตรายแต่เราสามารถป้องกันได้ สาเหตุมีหลากหลายแต่ส่วนใหญ่ที่พบนั้นจะเกิดจากอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีไฟรั...
ติดต่อเรา
Read More