Call Us:
098-9245815
จันทร์ - เสาร์ : 09.00 น. - 18.00 น.
OUR LOCATION
178/50 ซ.วุฒากาศ 14 แขวงตลาดพลู เขตธนบุรี , กรุงเทพฯ 10600,
SEND US EMAIL
pichaipat@faifahpro.biz
หน้าแรก
เกี่ยวกับเรา
บทความ
สื่อ
กิจกรรม
ติดต่อเรา
หน้าแรก
เกี่ยวกับเรา
บทความ
สื่อ
กิจกรรม
ติดต่อเรา
ดูแล บำรุงรักษาระบบไฟฟ้าในบ้าน
หน้าแรก
บทความ
ดูแล บำรุงรักษาระบบไฟฟ้าในบ้าน
ดูแล บำรุงรักษาระบบไฟฟ้าในบ้าน
ความเสื่อมสภาพของตัวบ้านหรือของใช้ในบ้านทั่ว ๆ ไป อาทิเช่น เฟอร์นิเจอร์, ผิวผนัง, กระเบื้อง, สามารถมองเห็น และหาช่างมาซ่อมแซมแก้ไข หรือเปลี่ยนใหม่ได้ไม่ยาก แต่
ระบบไฟฟ้า
ภายในบ้าน หากไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญ หรือไม่มีอุปกรณ์ตรวจเช็ค เราไม่มีทางรู้เลยว่ามันยังปกติอยู่ไหมจนกว่ามันจะเกิดผลกระทบขณะใช้งาน หรือเกิดเหตุอันตรายให้เห็น
ระบบไฟฟ้า
คือพื้นฐานในการใช้ชีวิตของทุกคนในปัจจุบัน แต่
ระบบไฟฟ้า
เป็นส่วนที่มักถูกมองข้ามเสมอบางบ้านอยู่อาศัยกันมา 5-7 ปี, บางบ้านมีคนอยู่มากขึ้นมีการเพิ่มเครื่องใช้ไฟฟ้ามากขึ้นหลายชิ้น แต่ไม่เคยตรวจเช็ค
บำรุงรักษาระบบไฟ
เลย หากไม่มีปัญหาการใช้งานให้เห็น และถึงบางบ้านจะรู้ว่ามีปัญหาอยู่ก็ยังเลี่ยงการแก้ไข ปรับปรุง โดยพยายามเลี่ยงไม่ใช้ไฟฟ้าบริเวณนั้นแทน ซึ่งทราบกันดีว่าเป็นการแก้ปัญหาที่ผิด สร้างความอันตรายให้คนในบ้านและทรัพย์สินแบบไม่รู้ตัว เพราะปัญหาไฟฟ้าที่จุดนึงอาจไม่ได้มีสาเหตุมาจากจุดนั้นเสมอไป อาจมีความผิดปกติจากจุดอื่นหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าชิ้นอื่นก็ได้ ดังนั้น
ทีมงานไฟฟ้าโปร
อยากให้ทุกคนไม่ประมาท และ ดูแล บำรุงรักษาระบบไฟฟ้าเท่าที่ทำได้
1. ตรวจไฟ ด้วยมิเตอร์ไฟฟ้าง่าย ๆ
มิเตอร์ไฟฟ้าสามารถบอกความผิดปกติของ
ระบบไฟฟ้า
ในบ้านเราได้ เพียงแค่ลองปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าและดับไฟทั้งหมดในบ้านแล้วลองดูที่มิเตอร์ไฟฟ้าว่ายังหมุนอยู่หรือไม่ หากยังหมุนอยู่แสดงว่ามีไฟรั่วแน่นอน!
2. ตู้ไฟ คือหัวใจของ
ระบบไฟฟ้า
ในบ้าน
เป็นส่วนที่สำคัญต่อการตรวจเช็ค
ระบบไฟฟ้า
ในบ้านที่สุด ตรวจเช็คการเข้าสายไฟ ความร้อนภายในตู้ ความ เสียงกระแสขณะใช้งาน หลวมของน๊อต และ อื่น ๆ ทั้งนี้ต้องมีอุปกรณ์ช่วยในการตรวจเช่น เครื่องมือตรวจระบบไฟรั่วหรือไขควงเทสไฟ
3. ตรวจสอบสายไฟ
ข้อนี้อาจจะเริ่มยากเพราะในปัจจุบันนิยมซ่อนสายไฟใต้ฝ้า เดินสายไฟในท่อหรือฝังพนังมากขึ้น ส่วนที่พอจะตรวจเช็คได้คือสายไฟที่โผล่ออกมาเชื่อมต่อกับตู้ไฟ โดยดูที่ฉนวนหุ้มสายไฟว่ามีรอยชำรุด แตกกรอบ หรือ มีความนิ่ม เหลวหรือไม่ หากมีควรทำการเปลี่ยนให้เร็วที่สุด
4. ตรวจสอบสวิตช์ไฟ ปลั๊กพ่วง เต้ารับ และหลอดไฟ
สิ่งเหล่านี้เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใกล้ชิดกับผู้อยู่อาศัยในบ้านมากที่สุดเพราะมีการสัมผัสทุกวันวิธีการตรวจสอบคือเปิด-ปิดสวิตช์เพื่อเช็กหลอดไฟทีละดวง ส่วนปลั๊กไฟทุกช่องต้องจ่ายไฟได้เป็นปกติด้วยเครื่องมือตรวจระบบไฟรั่วหรือไขควงเทสไฟนั่นเอง ปลั๊กและสวิตช์ควรมีหน้ากากครอบปิดสนิท
การตรวจเช็ค ดูแล และคอย
บำรุงรักษาระบบไฟฟ้า
ในบ้านอย่างสม่ำเสมอเป็นตัวช่วยสร้างความปลอดภัยให้ทุกคนในบ้านและทรัพย์สินที่ดีที่สุด แต่หากเจ้าของบ้านและผู้อาศัยไม่ถนัด ไม่มีอุปกรณ์ เครื่องไม้เครื่องมือ หรือมีความกังวลใจ ควรปรึกษาผู้ที่มีความชำนาญเช่น ช่างไฟ วิศวกร องค์กร ผู้ให้บริการ เข้ามาช่วยตรวจสอบ แก้ไข พร้อมให้คำแนะนำจะดีที่สุด
“อันตรายจากไฟฟ้ามองไม่เห็น แต่ป้องกันได้ เพราะชีวิตประเมินค่าไม่ได้”
Share this post :
Related Articles
เครื่องทำน้ำอุ่นและเครื่องทำน้ำร้อนแตกต่างกันอย่างไร? และความเหมาะสมในการใช้งาน
“เครื่องทำน้ำอุ่นและเครื่องทำน้ำร้อนนั้นมีความแตกต่างกันทั้งวิธีการติดตั้ง การใช้งาน และรูปลักษณ์ของตัวเครื่อง ...
มิเตอร์ไฟฟ้า เลือกขนาดยังไงให้เหมาะสมกับบ้าน?
อย่างแรกเราต้องมาอ้างอิงกันก่อนว่าเราอยู่ในพื้นที่ไหน รับการไฟฟ้าจากส่วนไหน โดยหลักๆไฟฟ้าที่เรารับมาจะมีอยู่ 2 แหล่งคือการ...
ป้องกันฟ้าผ่า สายล่อฟ้า
ในช่วงฤดูฝน หรือ ช่วงพายุเข้าบ่อยสิ่งที่หน้ากังวลไม่แพ้อุทกภัยคือปัญหาและความอันตรายของฟ้าผ่า ปรากฎการณ์ธรรมชาติที่จำเป็นต...
ติดต่อเรา
Read More