Call Us:
098-9245815
จันทร์ - เสาร์ : 09.00 น. - 18.00 น.
OUR LOCATION
178/50 ซ.วุฒากาศ 14 แขวงตลาดพลู เขตธนบุรี , กรุงเทพฯ 10600,
SEND US EMAIL
pichaipat@faifahpro.biz
หน้าแรก
เกี่ยวกับเรา
บทความ
สื่อ
กิจกรรม
ติดต่อเรา
หน้าแรก
เกี่ยวกับเรา
บทความ
สื่อ
กิจกรรม
ติดต่อเรา
ฝนตก คู่ไฟดับ ทำไมล่ะ?
หน้าแรก
บทความ
ฝนตก คู่ไฟดับ ทำไมล่ะ?
ฝนตก คู่ไฟดับ ทำไมล่ะ?
เป็นเรื่องปกติสำหรับคนไทยที่
ฝนตก
แล้วไฟมักจะดับโดยเฉพาะพื้นที่ต่างจังหวัด บางที่ดับไม่กี่นาที บางทีดับเป็นชั่วโมง ถึงกับต้องซื้อเทียนไข โคมไฟแบบชาร์จแบตติดบ้านไว้ กันเลยทีเดียว
สาเหตุของไฟฟ้าดับ ขณะฝนตก
สาเหตุที่ทำให้
ไฟฟ้าดับ
หรือ
ไฟตก
บ่อยขณะที่
ฝนตก
มีหลายประการมีทั้งจาก
ระบบไฟฟ้า
ในบ้านเรามีความผิดปกติ ค่ามาตรฐานต่าง ๆ เสื่อมลง หรือ มาจากระบบจ่ายไฟ ความเสียหายของอุปกรณ์จ่ายไฟจากการไฟฟ้า
1. ความชื้นในอากาศสูง มีโอกาสทำให้เกิดการลัดวงจรใน
ระบบไฟฟ้า
มากขึ้น
2.
ฝนตก
หนักมักมาพร้อมกับลมแรง ๆ ทำให้กิ่งไม้ตามแนวเสาไฟฟ้าเอียงไปพาด หรือหักทับสายไฟได้
3. กรณี
ฝนตก
หนัก ๆ มีพายุลมแรง ๆ ตามขั้วของสายส่งกระแสไฟอาจจะเกิดการหลวมกระแสไฟก็จะไหลผ่านไม่ได้เมื่อเกิดความชื้นเปียก และเกิดการลัดวงจรในระบบขึ้น
4. อุบัติเหตุรถยนต์ ชนเสาไฟฟ้า เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นให้เห็นอยู่เรื่อย ๆ
5. ในขณะที่อากาศร้อนมาก ๆ แล้วดันมี
ฝนตก
เมื่อฝนตกลงโดนลูกถ้วยที่รองรับสายไฟแรงสูงอาจทำให้ลูกถ้วยร้าวหรือแตกเป็นสาเหตุทำให้ตัวตัดไฟ หรือฟิวส์ไฟแรงสูงตก กระแสไฟไม่สามารถไหลผ่านไปได้ ทำให้กระแสไฟไม่พอจ่ายและดับลงในที่สุด
6. เกิดฟ้าผ่าลงที่หม้อแปลง หรืออุปกรณ์ไฟฟ้าส่วนอื่น ๆ ส่งผลให้แรงดันในระบบไฟฟ้าสูงขึ้นจนในบางครั้งหม้อแปลงมีการระเบิด
7. ขาดการบำรุงรักษา
ระบบไฟฟ้า
ในบ้าน เมื่อเกิดพายุฝนลมแรงความชื้นสูงก็ทำให้ไฟฟ้าลัดวงจรได้
ไฟฟ้าดับ ทำไงดี ??
อันดับแรกดูให้แน่ใจก่อนว่าบ้านหลังอื่นในระแวกดับด้วยหรือเปล่า หากใช่ก็โทรแจ้งไปที่การไฟฟ้า โดยแบ่งตามพื้นที่คือ กรุงเทพฯ สมุทรปราการ และ นนทบุรีให้ติดต่อการไฟฟ้านครหลวง MEA หมายเลข 1130 ส่วนคนที่อยู่จังหวัดอื่นนอกเหนือจาก 3 จังหวัดข้างต้น ให้แจ้งไปยังการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค PEA หมายเลข 1129 ควรติดต่อให้ถูกต้องตามพื้นที่เพื่อให้การตรวจสอบเร็วขึ้นไม่ต้องรอโอนสายไปมาให้หงุดหงิดใจ หลังจากนั้น
1. ควรเปิดประตู-หน้าต่างเล็กน้อย ในจุดที่เปิดได้เพื่อให้อากาศถ่ายเท
2. ปิดสวิตซ์ และดึงปลั๊กเครื่อใช้ไฟฟ้าภายในบ้านออกทั้งหมด
3. หลักเลี่ยงการเปิดตู้เย็น เพื่อรักษาอุณหภูมิภายในตัวเครื่องไว้ช่วยถนอมอาหารให้ได้นานที่สุด เผื่อว่าเจ้าหน้าที่จะต้องใช้เวลาในการแก้ไขมากกว่าปกติ
รายละเอียดการแจ้งข้อมูลเพื่อความสะดวกในการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่
1. หมายเลขผู้ใช้ไฟฟ้า 12 หลัก (ดูจากบิลค่าไฟ)
2. ที่อยู่ / สถานที่ เช่น บ้านเลขที่ หมู่บ้าน ซอย เขต แขวง จังหวัด
3. ชื่อ-นามสกุลของผู้แจ้ง
4. หมายเลขติดต่อกลับที่สะดวก
5. หากทราบสาเหตุก็แจ้งเจ้าหน้าที่ไว้เป็นข้อมูลเบื้องต้น
ทั้งนี้หลังจากไฟกลับมาเป็นปกติแล้ว ควรเตรียมตัวและเตรียมข้าวของให้พร้อมรับมือไว้เผื่อเกิดเหตุไฟดับฉุกเฉินอีกเช่น แบตเตอรี่สำรองไฟ พัดลมพกพา ชุดปฐมพยาบาลเบื้องต้น ตรวจเช็คระบบไฟฟ้าในบ้านบ้าง เพราะไฟดับเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ฉะนั้นการเตรียมตัวรับมือที่ดีจึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุด
Share this post :
Related Articles
เครื่องทำน้ำอุ่น
เครื่องทำน้ำอุ่น เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีความเสี่ยงสูงที่สุด ในบรรดาเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านทั้งหมด เพราะหากเกิดกระแสไฟรั่ว ห...
สวิตช์ไฟทางเดียว กับ สวิตช์ไฟสองทางต่างกันยังไง??
เคยสงสัยกันมั้ยว่าสวิตช์ไฟทางเดียวกับสวิตช์ไฟสองทางแตกต่างกันยังไง ทางไฟฟ้าโปร ได้รวบรวมข้อมูลมาให้แล้ว มาดูกันสิว่าแตกต่า...
ปัญหาไฟฟ้าในช่วงหน้าฝน
ในทุก ๆบ้านอาจจะเคยเจอปัญหาไฟดับ แต่เชื่อมั้ยว่าปัญหาไฟดับนั้นจะเยอะที่สุดช่วงหน้าฝน หรือในตอนที่ฝนตกหนัก แล้วทำไมหน้าฝนถึ...
ติดต่อเรา
Read More