ในช่วงฤดูฝน หรือ ช่วงพายุเข้าบ่อยสิ่งที่หน้ากังวลไม่แพ้อุทกภัยคือปัญหาและความอันตรายของฟ้าผ่า ปรากฎการณ์ธรรมชาติที่จำเป็นต้องหาวิธีป้องกันทั้งกับตัวบุคคลเอง และบ้านเรือนที่อยู่อาศัยและระบบไฟฟ้าภายในบ้าน หลายคนคงเคยสังเกตุเห็นบ้างว่าลักษณะฟ้าผ่านั้นมีหลายแบบ เช่น ฟ้าผ่าจากเมฆลงพื้นดิน หรือฟ้าผ่าแค่ภายในก้อนเมฆที่เราจะเห็นไฟแล่บ ๆ ออกมาจากก้อนเมฆ ซึ่งฟ้าผ้าแบ่งออกเป็น 4 แบบหลัก ๆ คือ 1. ฟ้าผ่าภายในก้อนเมฆ 2. ฟ้าผ่าจากเมฆก้อนหนึ่งไปยังเมฆอีกก้อนหนึ่ง 3. ฟ้าผ่าจากฐานเมฆลงสู่พื้น เรียกว่า ฟ้าผ่าแบบลบ 4. ฟ้าผ่าจากยอดเมฆลงสู่พื้น เรียกว่า ฟ้าผ่าแบบบวก ฟ้าผ่าแบบบวก สามารถผ่าได้ไกลออกไปจากก้อนเมฆถึง 40 กิโลเมตร ภายในเวลา 1 วินาที โดยมักจะเกิดในช่วงท้ายของพายุฝนฟ้าคะนอง คือ หลังจากที่ฝนซาแล้วนั่นเอง
อาคารบ้านเรือนที่สร้างในพื้นที่โล่ง หรือ มีความสูงมากกว่าสิ่งปลูกสร้างอื่น ๆ ในระแวกจะมีความเสี่ยงต่อฟ้าผ่ามากขึ้น สายล่อฟ้าจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ สายล่อฟ้าเป็นระบบที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อป้องกันบ้านหรืออาคารถูกฟ้าผ่าโดยตรง โดยสายล่อฟ้าไม่ได้ป้องกันฟ้าผ่า แต่ล่อให้ฟ้าผ่าลงในบริเวณที่เราต้องการแทน
ทำได้โดย ติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันเสิร์จ เพื่อป้องกันไม่ให้อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ ได้รับความเสียหายจากแรงดันไฟฟ้าเกินชั่วขณะ เมื่อเกิดฟ้าผ่าที่อาคาร บ้านพักอาศัย หรือแม้แต่ในบริเวณใกล้เคียงและเนื่องจากปรากฏการณ์ฟ้าผ่า สามารถทำให้เกิดกระแสฟ้าผ่าเข้ามาสร้างความเสียหายต่อเครื่องใช้ไฟฟ้า ระบบไฟฟ้าภายในบ้านหรืออาคารได้ ไม่ว่าจะเป็นทางตรง หรือทางอ้อม